บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2019

บทที่ 10 เรื่องการสะกดคำ

รูปภาพ
การสะกดคำ  หมายถึง การอ่านโดยนำพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดมาประสมเป็นคำอ่าน ถือเป็นเครื่องมือการอ่านคำใหม่ ซึ่งต้องให้นักเรียนสังเกตรูปคำพร้อมกับการอ่านการเขียน เมื่อสะกดคำจนจำคำอ่านได้แล้ว ต่อไปก็ไม่ต้องใช้วิธีการสะกดคำนั้น ให้อ่านเป็นคำได้เลย จะทำให้นักเรียนอ่านจับใจความได้และอ่านได้เร็ว การสะกดคำมีหลายวิธี ได้แก่ ๑. สะกดตามรูปคำ     เช่น   กา สะกดว่า กอ  –  อา  –  กา คาง  สะกดว่า คอ  –  อา  –  งอ  –คาง ค้าง  สะกดว่า คอ  –  อา  –  งอ  –  คาง  –  ไม้โท  –  ค้าง ๒. สะกดโดยสะกดแม่ ก กา ก่อน แล้วจึงสะกดมาตราตัวสะกด        เช่น   คาง สะกดว่า คอ  –  อา  –  คา  –  คา  –  งอ  –  คาง       ค้าง สะกดว่า คอ  –  อา  –  คา  –  คา  –  งอ  –  คาง  –  คาง  –  โท  –  ค้าง ๓. คำที่มีสระอยู่หน้าพยัญชนะ ให้สะกดพยัญชนะก่อนสระเสมอ        เช่น   เก สะกดว่า กอ  –  เอ  –  เก ไป สะกดว่า ปอ  –  ไอ  –  ไป ๔. คำที่เป็นสระลดรูปหรือสระเปลี่ยนรูป อาจสะกดได้ดังนี้        เช่น   กัน สะกดว่า กอ  –  อะ  –  นอ  –  กัน   หรือ กอ  –  ไม้หันอากาศ  –  นอ  –  กัน       คน สะกดว่า

บทที่ 9 วรรณคดีเรื่องพิกุลทอง

รูปภาพ
สาระสำคัญในเรื่อง พิกุลทอง ในเรื่องนางพิกุลทอง ได้แสดงให้เห็นเกี่ยวกับประเพณีความเชื่อหลายประการเช่น ที่มาของเรื่อง รัก-ยม อันมาจากชื่อพระโอรสของนางพิกุลทอง ซึ่งในปัจจุบันเราจะรู้จักว่าเป็นเครื่องรางของคลังชนิดหนึ่ง, ที่มาของสุภาษิตคำพังเพย คือ "กลัวดอกพิกุลจะร่วงจากปาก" หมายถึงคนที่ไม่ค่อยพูด หรือใครถามอะไร หรือสนทนาด้วยแล้วไม่อยากจะตอบ หรือพูดคุย, เรื่องความเชื่อเกี่ยวกับ ลูกกรอก และเหตุที่ชะนีร้องเรียกว่า "ผัวๆ" ในส่วนอื่นก็สอนให้เห็นผลของการกล่าววาจาที่ไพเราะและความซื่อสัตย์ จะทำให้เป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั้งหลาย และนำพาไปสู่ความเจริญ และเรื่องเกี่ยวกับความเชื่ออื่นๆ เช่น แม่ย่านาง เป็นต้น บทละครตอนต้นตามเนื้อความในสมุดไทย         นิทานเรื่องนางพิกุลทอง บทละครนอกที่ปรากฏในสมุดไทยแต่ครั้งสมัย  กรุงศรีอยุธยา  นั้นจับเรื่องตั้งแต่นางพิกุลทองสรงน้ำ จนถึงตอนนางพิกุลทองลุยไฟ ส่วนนิทานกลอนของนายบุศย์ โรงพิมพ์วัดเกาะจะแต่งเพิ่มต่อจนจบเรื่อง         "นางพิกุลทอง" เป็นธิดาของ "ท้าวสัณนุราช" กับพระมเหสี คือ "นางพิกุลจันทรา" ผู้ครอง