บทที่ 10 เรื่องการสะกดคำ

การสะกดคำ หมายถึง การอ่านโดยนำพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดมาประสมเป็นคำอ่าน ถือเป็นเครื่องมือการอ่านคำใหม่ ซึ่งต้องให้นักเรียนสังเกตรูปคำพร้อมกับการอ่านการเขียน เมื่อสะกดคำจนจำคำอ่านได้แล้ว ต่อไปก็ไม่ต้องใช้วิธีการสะกดคำนั้น ให้อ่านเป็นคำได้เลย จะทำให้นักเรียนอ่านจับใจความได้และอ่านได้เร็ว
การสะกดคำมีหลายวิธี ได้แก่

๑.สะกดตามรูปคำ
    เช่น กา สะกดว่า กอ – อา – กาคาง สะกดว่า คอ – อา – งอ –คาง
ค้าง สะกดว่า คอ – อา – งอ – คาง – ไม้โท – ค้าง



๒.สะกดโดยสะกดแม่ ก กา ก่อน แล้วจึงสะกดมาตราตัวสะกด
       เช่น คาง สะกดว่า คอ – อา – คา – คา – งอ – คาง
     ค้าง สะกดว่า คอ – อา – คา – คา – งอ – คาง – คาง – โท – ค้าง
๓.คำที่มีสระอยู่หน้าพยัญชนะ ให้สะกดพยัญชนะก่อนสระเสมอ
       เช่น เก สะกดว่า กอ – เอ – เก
ไป สะกดว่า ปอ – ไอ – ไป
๔.คำที่เป็นสระลดรูปหรือสระเปลี่ยนรูป อาจสะกดได้ดังนี้
       เช่น กัน สะกดว่า กอ – อะ – นอ – กัน หรือ กอ – ไม้หันอากาศ – นอ – กัน
     คน สะกดว่า คอ – โอะ – นอ – คน หรือ คอ – นอ – คน
     แข็ง สะกดว่า ขอ – แอะ – งอ – แข็ง หรือ ขอ – แอะ – ไม้ไต่คู้ – งอ – แข็ง
         เค็ม สะกดว่า คอ – เอะ – มอ – เค็ม หรือ คอ – เอะ – ไม้ไต่คู้ – มอ – เค็ม
๕.คำอักษรควบ อาจสะกดได้ดังนี้
๕.๑ สะกดเรียงตัวอักษร มุ่งเพื่อการเขียนให้ถูกต้อง
 เช่น กลอง สะกดว่า กอ – ลอ – ออ – งอ – กลอง
    พราง สะกดว่า พอ – รอ – อา – งอ – พราง
    กวาง สะกดว่า กอ – วอ – อา – งอ – กวาง
๕.๒ สะกดตัวควบพร้อมกัน มุ่งเพื่อออกเสียงคำควบกล้ำให้ชัด
 เช่น กลอง สะกดว่า กลอ – ออ – งอ – กลอง
    พราง สะกดว่า พรอ – อา – งอ – พราง
    กวาง สะกดว่า กวอ – อา – งอ – กวาง
๖.คำอักษรนำ อาจสะกดได้ดังนี้
๖.๑ สะกดเรียงตัวอักษร มุ่งเพื่อการเขียนให้ถูกต้อง
 เช่น อยาก สะกดว่า ออ – ยอ – อา – กอ – อยาก
    หนา สะกดว่า หอ – นอ – อา – หนา
    สนาม สะกดว่า สอ – นอ – อา – มอ – สนาม
๖.๒ อ่านอักษรนำแล้วจึงสะกด มุ่งเพื่อออกเสียงคำให้ถูกต้อง 
     เช่น อยาก สะกดว่า หยอ – อา – กอ – อยาก
    หนา สะกดว่า หนอ – อา – หนา
    สนาม สะกดว่า สะหนอ – อา – มอ – สนาม
 ๗.คำที่ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด คำที่มีตัวการันต์ ให้ใช้หลักสังเกตรูปคำ รู้ความหมายของคำและจำคำให้ได้โดยอ่านและเขียนอยู่เสมอ เช่น เหตุ จันทร์
ข้อสังเกต
๑.การสะกดคำ อาจสอนได้หลายวิธี ครูควรเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งที่เห็นว่าเหมาะสม และใช้วิธีเดียวตลอดการสอน เพื่อมิให้นักเรียนสับสน
๒.การสอนแจกลูกและสะกดคำแต่ละครั้ง ไม่ควรใช้เวลานานเกินไป นักเรียนจะเหนื่อยและเบื่อหน่ายได้ ครูควรสอนควบคู่กับการสอนอ่านเป็นคำ เป็นประโยค เพื่อให้นักเรียนสนุกขึ้นเพราะได้เรียนคำที่มีความหมาย
๓.เมื่อนักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านมากขึ้น ควรลดการอ่านแบบแจกลูกลง คงไว้แต่เพียงการอ่านสะกดคำเท่านั้น เพื่อมิให้เขียนหนังสือผิด และควรเลิกอ่านสะกดคำเมื่อนักเรียนอ่านเป็นคำได้เองแล้ว


                                  https://youtu.be/IB8DXHmEOlU

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 9 วรรณคดีเรื่องพิกุลทอง

วิเคราะห์บทความวิชาการ ครั้งที่ 2

วิเคราะห์บทความครั้งที่ 3